โครงงานคอมพิวเตอร์
เรื่อง ฝนหลวง(ร.9)
จัดทำโดย
ด.ญ
นันทนุช สืบแย้ม เลขที่19
ด.ญ ศุภิกา ศรีสกุล เลขที่21
ด.ญ ณัฐพร อุ่ยดอน
เลขที่25
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
2/3
เสนอ
คุณครู ธีรพล คงมีผล
โรงเรียนเทศบาล
๓ วัดชัยชนะสงคราม อ.เมือง จ.ตาก
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาคอมพิวเตอร์
บทคัดย่อ
“ประวัติโครงการหลวง” นี้เป็นโครงงานเพื่อการศึกษาให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับประวัติโครงการฝนหลวงโดยสร้างเป็นสื่อผ่านเว็บบล็อกwww.blogger.com
คณะผู้จัดทำได้ดำเนินงานตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้
และได้นำเสนอเผยแพร่ผลงานโดยเสนอผลงานผ่านเว็บบล็อกในระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผลการจัดทำโครงงานพบว่าการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประวัติโครงการฝนหลวงในระบบเครือข่ายอินเตอร์ได้รับความสนใจและเป็นสื่อที่มีประโยชน์
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยความช่วยเหลืออย่างยิ่งของครูที่ปรึกษา
ครูธีรพล คงมีผล
ที่ได้ให้คำแนะนำและข้อคิดเห็นต่างๆมาโดยตลอดและขอขอบคุณครอบครัวของคณะผู้จัดทำคนที่คอยให้ความช่วยเหลือในการรับส่งคณะผู้จัดทำ
และคอยถามไถ่ความเป็นมาของโครงงานอยู่เสมอซึ่งทำให้คณะผู้จัดทำโครงงานทุกคนมีกำลังใจในการทำโครงงานจนสำเร็จ
คณะผู้จัดทำโครงงานขอขอบคุณมา ณ ที่นี้
ประวัติของโครงการฝนหลวง
เฉียงใต้ซึ่ง โครงการพระราชดำริฝนหลวง เป็นโครงการที่ก่อกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยในความทุกข์ยากของพสกนิกรในท้องถิ่นทุรกันดาร
ซึ่งต้องประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่ออุปโภคบริโภค และใช้ในการเกษตรกรรม
อันเนื่องมาจากภาวะแห้งแล้ง ที่มีสาเหตุจากความผันแปร และคลาดเคลื่อนของฤดูกาลตามธรรมชาติ
กล่าวคือ ฤดูฝนเริ่มต้นล่าช้าเกินไป หรือหมดเร็วกว่าปกติ
หรือฝนทิ้งช่วงยาวในช่วงฤดูฝน
จากพระราชกรณียกิจในการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรในทุกภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
นับแต่เสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติตราบเท่าทุกวันนี้ ทำให้ทรงพบเห็นว่า ภาวะแห้งแล้ง
ได้มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นตามลำดับ เพราะการตัดไม้ทำลายป่า
เป็นสาเหตุให้สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ราษฎร ในทุกภาคของประเทศ
ส่งผลถึงความเสียหายต่อเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ คิดเป็นมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี
ทั้งนี้
ระหว่างทางที่เคยเสด็จพระราชดำเนิน ทั้งภาคพื้นดิน และทางอากาศยาน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสังเกตเห็นว่า มีเมฆปริมาณมากปกคลุมท้องฟ้า
แต่ไม่สามารถก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ เป็นเหตุให้เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงระยะยาวทั้ง
ๆ ที่เป็นช่วงฤดูฝน ทรงคิดคำนึงว่า น่าจะมีมาตรการทางวิทยาศาสตร์
ที่จะช่วยให้เมฆเหล่านั้นก่อรวมตัวกันจนเกิดเป็นฝนได้ ทรงเชื่อมั่นว่า
ด้วยลักษณะของกาลอากาศ ภูมิอากาศ
และภูมิประเทศของประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ในภูมิภาคเขตร้อน
และอยู่ในอิทธิพลของฤดูมรสุมของทวีปเอเชีย โดยเฉพาะฤดูมรสุมตะวันตกเป็นฤดูฝน และเป็นฤดูเพาะปลูกประจำปีของประเทศไทย
จะสามารถดัดแปรสภาพอากาศ ให้เกิดเป็นฝนตกได้
ดังนั้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา
พระองค์ทรงศึกษาค้นคว้า และวิจัยทางเอกสาร ทั้งด้านวิชาการอุตุนิยมวิทยา
และการดัดแปรสภาพอากาศ จนทรงมั่นพระทัย ก่อนพระราชทานแนวคิดนี้แก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์
เทวกุล ผู้เชี่ยวชาญในการวิจัยประดิษฐ์ทางด้านเกษตรวิศวกรรม
ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในขณะนั้น และในปีถัดมา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้หาลู่ทางที่จะทำให้เกิดการทดลองปฏิบัติการบนท้องฟ้า
กระทั่งในปี พ.ศ. 2512
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งหน่วยบินปราบศัตรูพืชกรมการข้าว
เพื่อให้การสนับสนุนในการสนองพระราชประสงค์ โดยในปีเดียวกันนั้นเอง
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้ทำการทดลองปฏิบัติการจริงในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 1 - 2 กรกฎาคม พ.ศ.
2512 โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล
เป็นผู้อำนวยการโครงการ และหัวหน้าคณะปฏิบัติการทดลองคนแรก
และเลือกพื้นที่วนอุทยานเขาใหญ่เป็นพื้นที่ทดลองแห่งแรก
ต่อมา
ได้มีปฏิบัติการโดยทดลองหยอดก้อนน้ำแข็งแห้ง ขนาดไม่เกิน 1 ลูกบาศก์นิ้ว
เข้าไปในยอดเมฆสูงไม่เกิน 10,000 ฟุต
ที่ลอยกระจัดกระจายอยู่เหนือพื้นที่ทดลองในขณะนั้น ทำให้กลุ่มเมฆทดลองเหล่านั้น
มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด จนเกิดการกลั่นรวมตัวกันหนาแน่น
และก่อยอดสูงขึ้นเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ในเวลาอันรวดเร็วแล้ว และจากการติดตามผลโดยการสำรวจทางภาคพื้นดิน
ก็ได้รับรายงานยืนยันจากราษฎรว่า
เกิดฝนตกลงสู่พื้นที่บริเวณวนอุทยานเขาใหญ่ในที่สุด
วิธีการทำฝนหลวง
ขั้นตอนที่หนึ่ง : ก่อกวน
การก่อกวน เป็นขั้นตอนที่เมฆธรรมชาติเริ่มก่อตัวทางแนวตั้ง
การปฏิบัติการฝนหลวงในขั้นตอนนี้ จะมุ่งใช้สารเคมีไปกระตุ้น
ให้มวลอากาศเกิดการลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน เพื่อให้เกิดกระบวนการชักนำไอน้ำ หรือ
ความชื้นเข้าสู่ระบบการเกิดเมฆ ระยะเวลาที่จะปฏิบัติการในขั้นตอนนี้ ไม่ควรเกิน
10.00 น. ของแต่ละวัน โดยการใช้สารเคมีที่สามารถดูดซับไอน้ำจากมวลอากาศได้
แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ
เพื่อกระตุ้นกลไกของกระบวนการกลั่นตัวไอน้ำในมวลอากาศ
ทางด้านเหนือลมของพื้นที่เป้าหมาย เมื่อเมฆเริ่มเกิดมีการก่อตัวและเจริญเติบโตในแนวตั้ง
จึงใช้สารเคมีที่ให้ปฏิกิริยาคายความร้อน โปรยเป็นวงกลม
หรือเป็นแนวถัดมาทางใต้ลมเป็นระยะทางสั้น ๆ เข้าสู่ก้อนเมฆ
เพื่อกระตุ้นให้เกิดกลุ่มแกนร่วมในบริเวณปฏิบัติการสำหรับใช้เป็นศูนย์กลางที่จะสร้างกลุ่มเมฆฝนในขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่สอง : เลี้ยงให้อ้วน
การเลี้ยงให้อ้วน
เป็นขั้นตอนที่เมฆกำลังก่อตัวเจริญเติบโตซึ่งเป็นระยะที่สำคัญมากในการปฏิบัติการฝนหลวง
เพราะจะต้องไปเพิ่มพลังงานให้กับการลอยตัวของก้อนเมฆให้ยาวนานออกไป
โดยต้องใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์ หรือศิลปะแห่งการทำฝนควบคู่ไปพร้อม ๆ กัน
เพื่อตัดสินใจ โปรยสารเคมีฝนหลวงชนิดใด ณ ที่ใดของกลุ่มก้อนเมฆ
และในอัตราใดจึงเหมาะสม เพราะ
ต้องให้กระบวนการเกิดละอองเมฆสมดุลกับการลอยตัวของเมฆ มิฉะนั้นจะทำให้เมฆสลาย
ขั้นตอนที่สาม : โจมตี
การโจมตี
ถือเป็นขั้นตอนสุดท้ายของกรรมวิธีปฏิบัติการฝนหลวง โดย เมฆ หรือ กลุ่มเมฆฝน
ต้องมีความหนาแน่นมากพอที่จะสามารถตกเป็นฝนได้
ภายในกลุ่มเมฆจะมีเม็ดน้ำขนาดใหญ่มากมาย หากเครื่องบินบินเข้าไปในกลุ่มเมฆฝนนี้
จะมีเม็ดน้ำเกาะตามปีก และกระจังหน้าของเครื่องบิน ซึ่งในจะต้องปฏิบัติการเพื่อลดความรุนแรงในการลอยตัวของก้อนเมฆ
หรือทำให้อายุการลอยตัวนั้นหมดไป สำหรับการปฏิบัติการในขั้นตอนนี้
จะต้องพิจารณาจุดมุ่งหมายของการทำฝนหลวง ซึ่งมีอยู่ 2 ประเด็น คือ
เพื่อเพิ่มปริมาณฝนตก และเพื่อให้เกิดการกระจายการตกของฝน
ด้วยความสำคัญ
และปริมาณความต้องการให้มีปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือทวีจำนวนมากขึ้น
ฉะนั้นเพื่อช่วยเหลือทวีแห้งแล้งจำนวนมากนั้น
เพื่อให้งานปฏิบัติการฝนหลวงสามารถปฏิบัติการช่วยเหลือเกษตรกรได้กว้างขวาง
และได้ผลดียิ่งขึ้น รัฐบาลจึงได้ตราพระราชกฤษฎีกาก่อตั้ง สำนักงานปฏิบัติการฝนหลวง
ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2518
เพื่อเป็นหน่วยงานรองรับโครงการพระราชดำริฝนหลวงต่อไป กระทั่งมีการปรับปรุง
และพัฒนาปฏิบัติการฝนหลวงมาจนถึงปัจจุบัน